ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
"คอมพิวเตอร์" คือ
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่
มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข
ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ
โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้า
หรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน
ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น
ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์
เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความถูกต้องและมีความรวดเร็วอย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม
เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน
4
อย่าง (IPOS cycle) คือ
1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
(input unit) เช่น
คีบอร์ด หรือ เมาส์
2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล
เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์
(output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (hardware)
หมายถึง
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ
คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing
Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล
(Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
Storage)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง
ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม)
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
3. บุคลากร (People)
- ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป
สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน
การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter)
หมายถึง ผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลากลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแล รักษา
การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆค่อนข้างดี
- ผู้เขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
หมายถึง ผู้เขียนโปรมแกรมตามที่ผู้ออกแบบ
และวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด
เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร
กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์ โดยภาษาต่างๆได้
และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน
- ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System
Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม
เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพงานดี
เป็นผู้ออกแบบโปรมแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรมแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป
- ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System
Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
4. ข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information)
ข้อมูล คือ
ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ
ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง
ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ
สารสนเทศ
หมายถึงสิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
สารสนเทศจึงมีความหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกสรรให้เหมาะกับการใช้งานให้ทันเวลา
และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น
อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้
ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม
กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง
นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
1. Speed
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถทำงานได้ถึง 1/100 วินาที
2.
ความน่าเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด
และไม่เหน็ดเหนื่อย
3.
ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็นเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่ป้อนเข้าสู้โปรแกรม
4.
เก็บข้อมูลจำนวนมากๆได้ (Store Massive Amounts of Information)
5.
ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move
Information)